กฎกติกาวอลเลย์บอลและผู้ตัดสินและทักษะการเล่น อุปกรณ์วอลเลย์บอล
เส้นเขตสนาม (Boundary lines) เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนแตกต่างจากสีพื้นสนาม เส้นทั้งหมดนี้รวมอยู่ในสนามแข่งขัน กว้าง x ยาว เท่ากับ 9 x 18 เมตร
เส้นแบ่งแดน (Center line) เป็นเส้นที่แบ่งพื้นสนามออกเป็น 2 ส่วน ยู่ตรงกึ่งกลางของสนามขนาดกว้างจากจุดกึ่งกลางสนามไปยังเส้นหลัง 9 เมตร เส้นจะอยู่ใต้ตาข่ายหรือตรงเสาตาข่ายพอดี
เส้นเขตแดน (Zone lines)
1.เส้นเขตรุกและเขตรุก เขตรุกแต่ละฝ่ายเป็นเขตที่กำหนดโดยเขตรุกกว้าง 3 เมตร คิดรวมกับความกว้างของเส้นด้วย เขตรุกจะลากขนานกับเส้นแบ่งแดนของสนาม และสมมติว่ามีความยาวออกไปนอกกเขตสนามโดยไม่มีกำหนด
2.เส้นเสิร์ฟและเขตเสิร์ฟ คือ เส้นที่ลากยาว 15 เซนติเมตร สองเส้นจากปลายสุดของสนาม โดยเขียนให้ห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร ซึ่งเขียนจากปลายเส้นข้างด้านขวาหนึ่งเส้น และเข้าไปทางซ้ายด้านในของสนามห่างกัน 3 เมตรอีกหนึ่งเส้น
3.เขตเปลี่ยนตัว อยู่ที่เขตรุกของทั้งสองฝ่ายที่เป็นแนวสมมติเลยออกไปในเขตรอบสนามที่อยู่ทั้งสองด้านของโต๊ะผู้บันทึก
ตาข่าย (Net) มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 เมตร ขึงอยู่ในแนวดิ่งเหนือจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน จะแบ่งสนามออกเป็น 2 ส่วน
แถบข้าง (Side Bands) ใช้แถบสีขาวก้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร ติดที่ปลายตาข่ายแต่ละด้าน ตั้งให้ได้ฉากกับเส้นข้าง และอยู่ในแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน แถบข้างนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย
เสาอากาศ (Antennas) ทำด้วยหลอดใยแก้ว หรือวัตถุที่คล้ายกัน มีความยาว 1.8 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ทาสีขาวสลับแดงเป็นช่วง ๆ แต่ละช่วงห่างกัน 10 เซนติเมตร เสาอากาศมี 2 เสา แต่ละเสาผูกติดกับขอบตาข่าย นอกสุดตรงกับแถบเส้นข้างของตาข่าย โดยให้ยื่นไปเหนือตาข่าย 80 เซนติเมตร
ความสูงของตาข่าย (Height of the Net) ความสูงตาข่ายของนักกีฬาชาย 2.43 เมตร และนักกีฬาหญิง 2.24 เมตร โดยวัดที่กึ่งกลางสนาม
เสาขึงตาข่าย ควรจะมีลักษณะกลมและเรียบทั้งสองเสา ซึ่งสามารถปรับระดับได้ มีความสูง 2.55 เมตร เพื่อรองรับปลายสุดของตาข่ายแต่ละด้าน เสาขึงต้องยึดติดอยู่กับพื้น ห่างจากเส้นข้างอย่างน้อย 50 – 100 เซนติเมตร ห้ามใช้ลวดหรือโลหะเป็นตัวยึดตาข่ายกับเสาเพราะจะเป็นอันตราย
ลูกบอล
ลูกบอลต้องมีลักษณะกลม ทำด้วยหนังฟอกที่ยืดหยุ่นได้ มียางในทำด้วยยางหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน สีต้องเป็นไปตามแบบและเป็นสีอ่อน (สีขาว) ขนาดเส้นรอบวงระหว่าง 6.5 – 6.7 เซนติเมตร น้ำหนักระหว่าง 260 – 270 กรัม แรงอัดระหว่าง 0.40 – 0.45 กก./ตร.ซม.
การใช้ลูกบอล 3 ลูก
การแข่งขันระหว่างชาติ ควรใช้ลูกบอล 3 ลูก โดยมีผู้คอยเก็บลูกบอลส่งให้ 6 คน ซึ่งอยู่ที่มุมเขตสนามทั้งสี่มุม มุมละ 1 คน และด้านหลังผู้ตัดสินด้านละ 1 คน
ผู้เล่น
ผู้เล่นจะแบ่งเป็นชุด แต่ละชุดประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน และแพทย์ 1 คน ผู้เล่นที่ชื่อในในบันทึกเท่านั้นจึงมีสิทธิ์ลงแข่งขันในครั้งนั้นได้ และเมื่อหัวหน้าชุดและผู้ฝึกสอนลงนามในใบบันทึกจะเปลี่ยนแปลงผู้เล่นไม่ได้ ส่วนหัวหน้าชุดที่มีชื่อในใบบันทึกเพียง 1 คนเท่านั้นที่ทำหน้าที่ได้
เครื่องแต่งกายของผู้เล่นต้องเป็นแบบเดียวกัน จะเป็นแขนสั้นหรือแขนยาวก็ได้ เสื้อของผู้เล่นต้องติดหมายเลขที่ด้านหน้ามีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 8 เซนติเมตร และด้านหลังมีขนาดสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร ขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร ติดหมายเลขตั้งแต่ 1 – 12 ถ้าทั้งสองชุดมีเสื้อสีเหมือนกัน ให้ชุดที่เป็นชุดเหย้าเป็นผู้เปลี่ยน แต่ถ้าแข่งขันสนามกลางให้ทีมที่มีชื่อในในบันทึกก่อนเป็นผู้เปลี่ยนชุด อนุญาตให้เปลี่ยนเสื้อระหว่างการแข่งขันได้ แต่ต้องเป็นหมายเลขเดิม หรือการขอเปลี่ยนกองหน้า ผู้ตัดสินที่ 1 อาจจะอนุญาตให้กระทำได้เช่นเดียวกันกับการอนุญาตให้ใช้ชุดฝึกแข่งขันได้ในกรณีอากาศหนาวเย็นมาก แต่ต้องเป็นสีเดียวกัน
ข้อห้ามของผู้เล่น
ห้ามไม้ให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกกชนิด ห้ามสวมเสื้อผ้าที่ไม่มีหมายเลขที่ถูกต้องและมีสีแตกต่างกันลงแข่งขัน
หน้าที่ของผู้เข้าร่วมแข่งขัน
ผู้เล่นทุกคนต้องเข้าใจในกฎกติกาการแข่งขัน และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ผู้เล่นต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสินด้วย จังจะเป็นลักษณะของผู้มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
มารยาทของผู้เล่นระหว่างการแข่งขัน
ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนคติที่ไม่ดีระหว่างแข่งขัน หรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่เป็นการไม่สุภาพต่อผู้อื่น
หัวหน้าชุด
ต้องติดโบว์หรือแถมขนาด 8 x 1.5 เซนติเมตร ที่มีสีแตกต่างกับสีเสื้อไว้บริเวณหน้าอกด้านซ้าย หัวหน้าชุดมีหน้าที่ควบคุมความประพฤติและวินัยของผู้เล่นในชุดของตนเอง ก่อนการแข่งขัน หัวหน้าชุดต้องเซ็นชื่อลงในใบบันทึก และเป็นผู้เสี่ยงแดนให้กับชุด นอกจากนี้หัวหน้าชุดยังเป็นผู้ที่มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวที่จะติดต่อสอบถามขออนุญาตหยุดเล่นเมื่อเกิดปัญหา และรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับทีมของตน
ผู้ฝึกสอน
มีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้ คือ เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลควบคุมและอำนวยการต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับทีมเพื่อให้การแข่งขันดำเนินไปตามกติกาการแข่งขัน เช่น ส่งรายชื่อและตำแหน่งของผู้เล่นก่อนการแข่งขันในแต่ละเซต ควบคุมการอบอุ่นร่างกายและจะให้คำแนะนำได้เฉพาะเมื่อมีเวลานอกเท่านั้น
ความรับผิดชอบของผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
นั่งอยู่บนม้านั่งในทีมได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ใด ๆ ในการแข่งขัน แต่สามารถทำหน้าที่แทนผู้ฝึกสอนได้เมื่อผู้ฝึกสอนไม่อยู่ ทั้งนี้ต้องให้หัวหน้าชุดเป็นผู้ขอ
การอบอุ่นร่างกายของชุด
ก่อนเริ่มแข่งขัน แต่ละชุดสามารถอบอุ่นร่างกายที่ตาข่าย 3 นาที ถ้ามีสนามอบอุ่นร่างกายแยกต่างหาก แต่ถ้าไม่มีให้อบอุ่นร่างกายได้ชุดละ 5 นาที และหากหัวหน้าชุดทั้งสองประสงค์จะอบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายพร้อมกันให้ใช้เวลาภายใน 6 – 10 นาที และให้ชุดที่เลือกเสิร์ฟก่อนเป็นชุดที่อบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายก่อน
ตำแหน่งเริ่มเล่นของชุด
ก่อนเริ่มเล่นในแต่ละเซต ผู้ฝึกสอนต้องส่งใบตำแหน่งเริมเล่นให้ผู้ตัดสินที่ 2 และถือว่าผู้เล่นทั้ง 6 คนในสนามคือผู้ที่เริ่มการเล่น
ที่นั่งของผู้เล่นสำรองและผู้ฝึกสอน
ผู้ที่ไม่มีชื่อในใบตำแหน่งการเริ่มเล่นในเซตนั้นถือว่าเป็นผู้เล่นสำรองในเซต ผู้เล่นสำรองและผู้ฝึกสอนต้องนั่งอยู่ที่ม้านั่งในแดนของตนเอง โดยสามารถอบอุ่นร่างกายแบบไม่ใช้ลูกบอลนอกเขตสนามรอบ ๆ และต้องมานั่งที่เดิมเมื่ออบอุ่นร่างกายแล้ว สามารถให้กำลังใจกับเพื่อนร่วมทีมได้
การผิดตำแหน่ง
ผู้เล่นที่ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในขณะที่ผู้เสิร์ฟตีลูกบอลเพื่อเสิร์ฟ จะถือเป็นการผิดตำแหน่ง ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้ เมื่อตรวจพบว่าผู้เล่นผิดตำแหน่งให้ลงโทษทีมที่ผิดทันที โดยผู้เล่นต้องหมุนไปยังตำแหน่งที่ถูกต้องทันที และผู้บันทึกต้องตรวจสอบให้แน่ชดว่าข้อผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด เพื่อยกเลิกคะแนนทั้งหมดของชุดที่ผิดกติกา ส่วนของฝ่ายตรงข้ามให้คงไว้
ความผิดที่เกิดขึ้นระหว่างการเสิร์ฟที่ผิดกติกากับการยืนตำแหน่งผิดกติกา ให้ลงโทษการยืนตำแหน่งผิดเพราะเป็นโทษที่หนักกว่า และเพื่อตรวจพบว่าการหมุนตำแหน่งผิดให้หยุดการเล่นและแก้ไขใหม่ให้ถูกกต้อง
การหยุดการเล่น
การหยุดการเล่นที่ถูกต้อง คือ การขอเวลานอก ขอเปลี่ยนตัวผู้ตัดสินเป็นผู้อนุญาตเมื่อลูกตาย โดยหัวหน้าชุดเป็นผู้ขอ การขอเวลานอกต้องไม่เกิน 30 วินาทีต่อครั้ง แต่ละทีมจะขอได้ไม่เกิน 2 ครั้ง และเปลี่ยนตัวได้ไม่เกิน 6 ครั้ง ต่อหนึ่งเซต และทีมนั้นจะถูกปรับเป็นขอเวลานอก หากผู้ตัดสินให้สัญญาณเล่นต่อแล้วถ่วงเวลาหรือหยุดการเล่น
การขอเวลานอก
การขอเวลานอกควรปฏิบัติดังนี้ คือ ผู้เล่นสำรองต้องพร้อม โดยถือป้ายแจ้งหมายเลขเสื้อของผู้เล่นที่จะถูกเปลี่ยนออก และยืนอยู่ในเขตเปลี่ยนตัว การแนะนำของผู้ฝึกสอนต้องอยู่นอกเส้นสนาม
การหยุดการเล่นเนื่องจากผู้เล่นในชุด
เพราะสาเหตุมาจากผู้เล่นเกิดการบาดเจ็บ และสามารถเปลี่ยนตัวได้ แต่ถ้าเปลี่ยนตัวไม่ได้ต้องให้เวลาพัก 3 นาที เพื่อทำการปฐมพยาบาล เมื่อผู้เล่นบาดเจ็บเล่นต่อไม่ได้ จะถูกปรับเป็นไม่พร้อมที่จะเล่นในเซตนั้น
การหยุดการเล่นที่ผิดระเบียบ
เมื่อใช้เวลานอกครั้งที่ 2 นานเกินเวลาที่กำหนดหลังจากผู้ตัดสินเรียกให้เล่นต่อ แต่ถ่วงเวลาการเปลี่ยนตัวหลังขอเวลานอกไป 2 ครั้ง แล้วไม่พร้อมที่จะลงเล่นจะถูกปรับเป็นขอเวลานอก 2 ครั้งติดต่อกัน ชุดนั้นจะถูกปรับเป็นแพ้ในเซตนั้น
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
แต่ละทีมจะขอเปลี่ยนตัวในเซตหนึ่งได้ไม่เกิน 6 ครั้ง ซึ่งจะต้องทำโดยเร็ว การเปลี่ยนตัวที่ถูกกต้อง คือ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินที่ 1 หรือที่ 2 ผู้เล่นสำรองที่จะเปลี่ยนตัวเข้าเล่นต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนทันที หากเปลี่ยนตัวช้าจะถูกปรับเป็นขอเวลานอก ขณะเปลี่ยนตัวจะไม่มีการแนะนำผู้เล่น
การเปลี่ยนตัวแบบการบังคับ
เพราะผู้เล่นในสนามถูกเชิญออก และถ้าไม่สามารถจะเปลี่ยนตัวได้ ทีมนั้นต้องถกปรับเป็นไม่พร้อมที่จะเล่น ยกเว้นในกรณีผู้เล่นเกิดบาดเจ็บให้เปลี่ยนตัวได้ในกรณีพิเศษ
การเปลี่ยนตัวที่ผิดระเบียบ
เปลี่ยนตัวไม่อยู่ในเขตที่กำหนด หรือไม่มีความพร้อมในการเปลี่ยนตัว และชุดนั้นหมดสิทธิ์ขอเวลานอกแล้ว
การพักระหว่างเซตและการเปลี่ยนแดน
ให้พักระหว่างเซตได้ 2 นาที ส่วนการพักระหว่างเซตที่ 4 และเซตที่ 5 พักได้ 5 นาที ทั้งสองทีมต้องตั้งแถวที่เส้นหลังทันทีที่ผู้ตัดสินเรียกลงสรามแข่งขันต่อ และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละเซต ทั้งสองทีมต้องเปลี่ยนแดนกัน นอกจากเซตตัดสิน
ผลการแข่งขัน
ทีมที่ได้คะแนน 15 คะแนนก่อนในแต่ละเซตจะเป็นผู้ชนะ แต่ต้องมีคะแนนมากกว่าฝ่ายตรงข้ามอย่างน้อย 2 คะแนน ในกรณีที่มีคะแนนเท่ากัน (14 – 14) ผู้ชนะในเซตนั้นต้องมีคะแนนมากกว่า 2 คะแนน คือ 16 – 14, 17 – 15 แต่ถ้าชุดในถูกปรับให้เป็นแพ้ ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนเท่าที่ทำได้ ส่วนทีมที่ถูกปรับให้คงคะแนนไว้ตามเดิม
ผู้ชนะในการแข่งขัน
ผู้ที่จะชนะการแข่งขัน คือ ชุดที่ชนะ 3 เซตก่อนใน 5 เซต ถ้าชุดใดไม่พร้อมที่จะแข่งขัน ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนเซตเท่าที่ทำได้ในเซตนั้น แต่ฝ่ายที่ถูกรับเป็นแพ้ก็คงคะแนนตามเดิมไว้ ทีมที่ไม่พร้อมจะลงแข่งขันให้ปรับชุดนั้นเป็นแพ้ด้วยคะแนน 15 – 0 ในแต่ละเซต และ 3 – 0 เซต ในการแข่งขันนครั้งนั้น ชุดที่ไม่ลงแข่งขันตามกำหนดให้ปรับเป็นแพ้คะแนน เซตละ 15 – 0 ผลการแข่งขัน 3 – 0 เซต
การเสิร์ฟ
เป็นการกระทำเพื่อทำให้ลูกบอลเข้าเล่น โดยผู้เล่นแถวหลังขวายืนอยู่ในเขตเสิร์ฟและตีลูกบอลด้วยมือข้างเดียว จะแบมือหรือกำมือก็ได้ การเสิร์ฟที่ถูกต้องคือไม่เหยียบเส้นเสิร์ฟ และเสิร์ฟข้ามตาข่ายไปลงยังแดนฝ่ายตรงข้าม
ลำดับการเสิร์ฟ
ผู้เล่นจะต้องเสิร์ฟตามลำดับที่ส่งตามใบส่งตำแหน่ง และจะเริ่มเสิร์ฟครั้งแรกเมื่อทีมนั้นชนะเสี่ยง เมื่อเลือกสิทธิ์เสิร์ฟในเซตที่ 1 และเซตที่ 5 หากฝ่ายเสิร์ฟได้คะแนนการเสิร์ฟของคนเดิม การเสิร์ฟก็จะดำเนินไปเรื่อย ๆ เมื่อฝ่ายเสิร์ฟทำเสียก็จะเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายเสิร์ฟ ฝ่ายที่ได้เสิร์ฟก็จะหมุนตำแหน่งไป โดยผู้เล่นที่อยู่แถวหน้าขวาเปลี่ยนมาเป็นหลังขวาคือผู้เสิร์ฟ
การเสิร์ฟเสีย
การเสิร์ฟเสียเกิดขึ้นเมื่อผิดลำดับการเสิร์ฟ ไม่เสิร์ฟตามเงื่อนไขของการเสิร์ฟ การพยายามเสิร์ฟ และผู้เล่นของฝ่ายเสิร์ฟในสนามยืนกำบังเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
การถูกลูกบอล
แต่ละชุดสามารถถูกลูกบอลได้ไม่เกิน 3 ครั้ง (ไม่รวมการสกัดกั้น) และต้องส่งลูกข้ามตาข่ายกลับไปยังแดนคู่ต่อสู้ การถูกลูกบอลทุกครั้งของผู้เล่นนับเป็นการถูกลูกบอลของทีมนั้น ผู้เล่นไม่สามารถถูกลูกบอลสองครั้งติดต่อกัน ยกเว้นการสกัดกั้น ลูกบอลสามารถถูกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่เอวขึ้นไปได้ แต่เป็นการถูกเพียงครั้งเดียวที่กระดอนให้เห็นโดยชัดแจ้ง ลูกบอลจะต้องถูกตีโดยชัดแจ้ง และไม่เป็นการปัดลูกบอล เช่น ยก ผลัก พา ขว้าง หรือเกี่ยว เพราะการถูกกลูกบอลในลักษณะดังกล่าวถือว่าผิดกติกา
ผู้เล่นสองคนหรือมากกว่า
ผู้เล่นสามารถถูกลูกบอลในเวลาเดียวกันได้ และไม่ถือว่าเสียคะแนน คือการสกัดกั้น (Block) และลูกบอลกลับเข้าสู่การเล่นอีก ผู้เล่นฝ่ายที่สกัดกั้นสามารถเล่นลูกได้อีก 3 ครั้ง แต่ถ้าลูกที่ผู้เล่นในลักษณะการสกัดกั้นแล้ว ลูกบอลตกออกนอกสนามไป ฝ่ายถูกลูกบอลเป็นฝ่ายทำออก การเล่นที่ทีมนั้นเล่นลูก 4 ครั้ง หรือคนเดียวเล่นลูก 2 ครั้ง ถือว่าเป็นการเล่นลูกผิกกติกา
การเล่นมือล้ำเหนือตาข่าย
ขณะการสกัดกั้นอนุญาตให้ถูกลูกบอลที่อยู่เหนือตาข่ายที่อยู่ในแดนคู่ต่อสู้ได้ โดยผู้เล่นต้องไม่รบกวนการเล่นลูกบอลนั้นก่อน หรือระหว่างการเล่นของคู่ต่อสู้ และหลังจากที่ผู้เล่นตบลูก อนุญาตให้มือล้ำเหนือตาข่ายเข้าไปในแพนคู่ต่อสู้ได้ ทั้งนี้จังหวะตบลูกต้องอยู่ในแดนของตนเอง และขณะแข่งขันห้ามไม่ให้ผู้เล่นถูกส่วนหนึ่งส่วนใดของตาข่าย แต่สามารถให้อวัยวะส่วนมือและเท้าล้ำเข้าไปในแพนคู่ต่อสู้ได้ แต่ต้องไม่เป็นการรบกวนคู่แข่งขัน และผู้เบ่นสามารถสัมผัสแพนคู้ต่อสู้ได้โดยไม่รบกวนหรือเกี่ยวข้องตัวของคู่แข่งขัน ซึ่งการเล่นดังกล่าวสามารถทำได้ เช่น การเหยียบเส้นแบ่งแดน แต่ไม่ใช่ล้ำแดน หรือเลยข้ามไปยังฝ่ายตรงข้าม
การล้ำแดนที่ผิดระเบียบ เมื่อสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้
ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้ หรือสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ตอสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบอลยังอยู่ในการเล่น และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือเป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา
การตบลูกบอล
ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูงทุกระดับ โดยขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ส่วนผู้เล่นในแดนหลังสามารถกระโดตบลูกได้ แต่ต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม้เป็นไปตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสีย
การสกัดกั้น
คือ การกระทำของผู้เล่นในแดนหน้าหนึ่งคนหรือมากกว่า อยู่ชิดตาข่ายเพื่อป้องกันลูกบอลที่มาจากแดนของคู่ต่อสู้ โดยใช้มือหรือแขนยกป้องกัน และจะผิดระเบียบกติกาเมื่อฝ่ายสกัดกั้นทำการสกัดกั้นนอกเสาอากาศ และถูกลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปรบกวนการเล่นของคู่ตอสู้ทั้งก่อนหรือระหว่างการเล่นลูกบอลของคู่ตอสู้จะต้องถูกลงโทษ 2 ลักษณะ คือ เสียคะแนน หรือเปลี่ยนเสิร์ฟ แต่ถ้ามีการทำผิดพร้อมกันทั้งสองทีมจะไม่มีมีการทำโทษ และให้ฝ่ายเสิร์ฟลูกได้เสิร์ฟลูกใหม่
ผู้ตัดสิน


สัญญาณมือผู้ตัดสินวอลเล่ย์บอล
1.เริ่มเล่นหรืออนุญาตให้เสิร์ฟ
ผู้เล่นจะทำการเสิร์ฟลูกบอลได้หลังจากที่ผู้ตัดสินให้สัญญาณนกหวีด พร้อมแสดงสัญญาณมือ เริ่มเล่น
หรือผู้ตัดสินอนุญาตให้เสิร์ฟ
2. ทีมที่ได้คะแนนหรือมีสิทธิ์เสิร์ฟ
ทีมที่ไม่ได้เป็นผู้ทำให้ลูกบอลเป็นลูกเสีย จะได้สิทธิ์ในการเสิร์ฟ และได้คะแนน ผู้ตัดสินแสดงสัญญาณมือ ชี้ไปยังทีมที่ได้คะแนน และมีสิทธิ์เสิร์ฟตัดสินอนุญาตให้เสิร์ฟ
3. ลูกบอลลงในสนามแข่งขัน
ผู้ตัดสินให้สัญญาณนกหวีด พร้อมแสดงสัญญาณมือชี้ไปที่พื้นในแดนของผู้เล่น ที่ลูกบอลลงในสนาม
แข่งขัน ซึ่งถือว่าเป็นลูกดี
4. ลูกบอลออกนอกสนามแข่งขัน
เมื่อลูกบอลออกนอกสนามแข่งขันหรือถูกสิ่งของที่อยู่ภายนอกสนามผู้ตัดสินต้องให้สัญญาณนกหวีด พร้อมแสดงสัญญาณมือโดยยกมือทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ
5.ให้เริ่มเล่นใหม่
ผู้เล่นทั้ง 2 ทีมเล่นผิดกติกาพร้อมๆกัน ถือว่าเป็นการทำผิดทั้งคู่หรือเกิดจากการตัดสินที่ผิดพลาด ตัดสินขัดแย้งกัน ให้แสดงสัญญาณมือโดยยกหัวแม่มือทั้ง 2 ข้างขึ้น
6. ผู้เสิร์ฟไม่เสิร์ฟตามกำหนดเวลา
หลังผู้ตัดสินอนุญาตให้ทำการเสิร์ฟแล้ว ผู้เสิร์ฟต้องเสิร์ฟลูกบอลภายในเวลาที่กำหนด ผู้ตัดสินให้สัญญาณนกหวีดพร้อมแสดงสัญญาณมือไม่เสิร์ฟตามกำหนดเวลา
7.ทีมขอเวลานอก
แต่ละทีมขอเวลานอกได้ 1 ครั้ง ในเซตที่ 1 - เซตที่ 4 (มีเวลานอกทางเทคนิค) แต่ถ้ามีการเล่นในเซตที่ 5 ขอเวลานอกได้2 ครั้ง (ไม่มีเวลานอกทางเทคนิค) ผู้ตัดสินแสดงสัญญาณมือทีมขอเวลานอก
8.ผู้เล่นพักลูกบอลหรือยึดลูกบอล
การถูกลูกบอลต้องกระทบลูกบอลอย่างชัดเจนไม่มีการพักลูก ลูกบอลจะสะท้อนกลับไปในทิศทางใดก็ได้ หากทำผิดกติกาโดยการยก ผลัก พา หรือจับโยน ผู้ตัดสินแสดงสัญญาณมือผู้เล่นพักลูกบอลหรือยึดลูกบอล
9.ผู้เล่นถูกลูกบอล 2 ครั้งติดต่อกัน
ผู้เล่นคนหนึ่งๆจะถูกลูกบอล 2 ครั้งติดต่อกันไม่ได้(ยกเว้นการสกัดกั้น) ผู้ตัดสินให้สัญญาณนกหวีดพร้อม แสดงสัญญาณมือ ผู้เล่นถูกลูกบอล 2 ครั้ง
10.ทีมเล่นลูกบอลเกินกว่า 3 ครั้ง
ทีมหนึ่งๆจะถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง(ยกเว้นการสกัดกั้น) เพื่อส่งลูกบอลข้ามตาข่ายไปยังฝ่ายตรงข้ามถ้าทำผิดกติกาผู้ตัดสินให้สัญญาณนกหวีด พร้อมแสดงสัญญาณมือทีมเล่นบอลเกินกว่า 3 ครั้ง
11.ผู้เล่นแดนหลังสกัดกั้น หรือผู้เล่นกำบัง
ผู้เล่นแดนหลังทำการสกัดกั้น หรือร่วมในกลุ่มผู้สกัดกั้น และเป็นการสกัดกั้นที่สมบูรณ์ (ผู้สกัดกั้นถูกลูกบอล) หรือผู้เล่นกำบังขณะเสิร์ฟผู้ตัดสินแสดงสัญญาณมือผู้เล่นแดนหลังขึ้นมาสกัดกั้นหรือผู้เล่นกำบังขณะเสิร์ฟ
12.ผู้เล่นยืน หรือหมุนผิดตำแหน่ง
ขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟลูกบอลแต่ละทีมต้องอยู่ในแดนของตนเอง ตามลำดับการหมุนตำแหน่ง ยกเว้นผู้เสิร์ฟ ถ้าทำผิดกติกา ผู้ตัดสินแสดงสัญญาณมือผู้เล่น ผู้เล่นยืนผิดตำแหน่งหรือหมุนผิดตำแหน่ง
13.ทีมขอเปลี่ยนตัวผู้เล่น
การเปลี่ยนตัวคือการกระทำที่ผู้ตัดสินอนุญาตให้ผู้เล่นคนหนึ่งหรือหลายคน ออกจากสนาม และให้
ผู้เล่นอื่นเข้าแทนตำแหน่งนั้น ผู้ตัดสินแสดงสัญญาณมือทีมขอเปลี่ยนตัวผู้เล่น
14.ไม่โยนหรือปล่อยลูกบอลขณะเสิร์ฟ
เมื่อผู้ตัดสินอนุญาตให้ทำการเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟไม่โยน หรือปล่อยลูกบอลออกไปก่อนการเสิร์ฟ ผู้ตัดสินแสดงสัญญาณมือ ผู้เสิร์ฟไม่โยน หรือปล่อยลูกบอลขณะเสิร์ฟ
15.เล่นลูกบอลในแดนฝ่ายตรงข้าม
ผู้เล่นที่เล่นหรือถูกลูกบอลในแดนของฝ่ายตรงข้ามก่อนหรือระหว่างการเล่นลูกบอลของฝ่ายตรงข้าม ถือว่าผิดกติกา ผู้ตัดสินแสดงสัญญาณมือ ผู้เล่นเข้าไปเล่นลูกบอลในแดน
16.แดนหลังเล่นบอลเหนือตาข่ายเขตรุก
ผู้เล่นแดนหลังสามารถทำการรุกได้ โดยขณะที่ถูกลูกบอล ลูกบอลต้องอยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของตาข่าย ถ้าลูกบอลอยู่เหนือตาข่ายถือว่าผิดกติกา ผู้ตัดสินแสดงสัญญาณมือ ผู้เล่นแดนหลังขึ้นมาเล่นบอลเหนือตาข่ายแดนรุกนฝ่ายตรงข้าม
17.ผู้เล่นล้ำเส้นแบ่งแดน
ส่วนต่างๆของร่างกายจะถูกแดนของฝ่ายตรงข้ามไม่ได้ ยกเว้นเท้าหรือมือถูกสนามฝ่ายตรงข้ามได้โดยมีส่วนของเท้าหรือมือแตะหรืออยู่เหนือเส้นแบ่งแดนผู้ตัดสินแสดงสัญญาณมือ ผู้เล่นล้ำเส้นแบ่งแดน
18.ลูกบอลถูกผู้เล่นก่อนออกนอกสนาม
ลูกบอลถูกผู้เล่นแล้วออกนอกสนาม หรือถูกสิ่งกีดขวางผู้ตัดสินแสดงสัญญาณมือลูกบอลถูกผู้เล่นก่อนออกนอกสนาม
19.เตือนถ่วงเวลาการเล่น
การกระทำใดๆของทีมที่ไม่เหมาะสมจนเป็นเหตุให้เกมการแข่งขันต้องหยุดลง หรือล่าช้าถือว่าเป็นการถ่วงเวลา จะถูกเตือนด้วยใบเหลือง ผู้ตัดสินแสดงใบเหลืองชี้ที่นาฬิกา เป็นการเตือนถ่วงเวลาการเล่น
20.เตือนด้วยใบเหลือง
พฤติกรรมใดๆที่แสดงถึงการไม่มีน้ำใจนักกีฬา ต่อผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่ คู่แข่งขัน เพื่อนร่วมทีม หรือผู้ชมผู้ตัดสินแสดงสัญญาณมือ เตือนด้วยใบเหลือง
21.ลงโทษด้วยใบแดง
พฤติกรรมใดๆที่แสดงถึงมารยาทที่หยาบคาย หรือทีมถูกเตือนเรื่องการไม่มีน้ำใจนักกีฬาซ้ำอีก ผู้ตัดสินแสดงสัญญาณมือ ลงโทษด้วยใบแดง
22.ผู้เล่นที่ถูกลงโทษพักในเซตนั้น
ผู้เล่นที่แสดงถึงมารยาทที่หยาบคาย ซ้ำๆกัน จะถูกลงโทษโดยให้ออกจากการแข่งขัน ผู้เล่นต้องออกจากแดนตนเอง และไม่อนุญาตให้ลงแข่งขันต่อไปในเซตนั้น ผู้ตัดสินแสดงสัญญาณมือ บัตรเหลือง แดง ติดกัน
23.ให้ผู้เล่นออกจากการแข่งขัน
ผู้เล่นที่แสดงถึงมารยาทที่ก้าวร้าว รุกรานหรือทำร้ายร่างกายต่อผู้แข่งขัน หรือผู้ร่วมทีมอื่นจะถูกลงโทษ
โดยให้ออกจากการแข่งขัน และออกจากสนามแข่งขันม้านั่ง ตลอดการแข่งขันที่เหลืออยู่ในนัดนั้นผู้ตัดสิน
แสดงสัญญาณมือ บัตรเหลือง แดง แยกกัน
24.จบการแข่งขันในแต่ละเซต
เมื่อทีมใดทีมหนึ่งทำได้ 25 คะแนนก่อน และมีคะแนนนำทีมตรงข้ามอย่างน้อย 2 คะแนนถือเป็นทีมที่ชนะผู้ตัดสินแสดงสัญญาณมือจบการแข่งขันในแต่ละเซต
25.เปลี่ยนแดนเมื่อคะแนนที่ 8ในเซตตัดสิน
เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันในแต่ละเซตทั้ง 2ทีมต้องเปลี่ยนแดน ยกเว้นในเซตตัดสินทีมใดทำคะแนน ได้8 คะแนน ให้ทำการเปลี่ยนแดนทันที ผู้ร่วมทีมคนอื่นๆต้องเปลี่ยนที่นั่งด้วย ผู้ตัดสินแสดงสัญญาณมือเปลี่ยนแดน
26.ผู้กำกับเส้นชี้ธงลูกบอลลงในสนาม
ผู้กำกับเส้นให้สัญญาณมือโดยชี้ธงไปที่พื้นในสนามเมื่อลูกบอลลงในเขตสนามแข่งขัน ซึ่งถือว่าเป็นลูกดี
27.ผู้กำกับเส้นยกธงลูกบอลออกนอกสนาม
เมื่อลูกบอลออกนอกสนามแข่งขันหรือถูกสิ่งของที่อยู่ภายนอกสนามผู้กำกับเส้น แสดงสัญญาณมือโดยยกธงขึ้นเหนือศีรษะ ถือว่าเป็นลูกออก
28.ผู้กำกับเส้นเอามือแตะปลายธงเมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นก่อนออกนอกสนาม
ลูกบอลถูกผู้เล่นแล้วออกนอกสนาม หรือถูกสิ่งกีดขวางผู้กำกับเส้นแสดงสัญญาณมือโดยยกธงขึ้นแล้วเอามือแตะที่ปลายธง เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นแล้วออกนอกสนาม
29.ผู้กำกับเส้นไม่แน่ใจ
ถ้าผู้กำกับเส้นไม่แน่ใจ เช่นผู้เล่นบังขณะบอลตกลงพื้น ให้ผู้กำกับเส้นยกมือทั้ง 2 ข้าง ไขว้ที่หน้าอก เมื่อไม่แน่ใจ
30.ผู้กำกับเส้นโบกธงเมื่อลูกบอลถูกเสาอากาศ หรือออกนอกเสาอากาศ
ถ้าลูกบอลออกนอกเสาอากาศ (นอกพื้นที่ว่างเหนือตาข่าย)หรือถูกเสาอากาศ ผู้กำกับเส้นแสดงสัญญาณมือโบกธงไปมาเหนือศีรษะ พร้อมชี้ไปที่เสาอากาศ
ทักษะในการเล่นวอลเลย์บอล
ทักษะที่1 การอันเดอร์วอลเล่ย์บอล ลักษณะท่าทางเตรียมเล่นบอลของผู้เล่นมีลักษณะดังนี้ 1. หงายมือทั้งสองข้าง 2. เอามือหนึ่งไปวางช้อนทับอีกมือหนึ่ง 3.รวบมือให้นิ้วหัวแม่มือชิดติดกัน มัด 4. ใช้มือใดมือหนึ่งกำหมัด 5. ใช้อีกมือหนึ่งโอบหมัด 6. ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองชิดติดกัน .กำมือ 7.กำมือทั้งสองข้าง 8.1. การวิ่งเคลื่อนที่เข้าหาจุด 2. เตรียมกระโดดห่างจากจุดที่ลูกบอลตกประมาณ 1 ฟุต 3. กระโดดเหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหลัง น้ำหนักตัวไปข้างหลัง เข่างอ 4. เหวี่ยงแขนทั้งสองขึ้นข้างหน้า พร้อมกับถีบเท้าทั้งสองกระโดดลอยตัว ขึ้นตรง ๆนำมือทั้งสองข้างมาชิดกัน 9.ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างเสมอกัน |
ท่าการอันเดอร์
1. ยืนเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้าห่างกัน ประมาณ 1 ช่วงไหล่
2 ย่อเข่าลงให้หัวเข่าเลยปลายเท้าเล็กน้อยก้มลำตัวให้หัวไหล่อยู่ในแนวระดับของเข่า
3 ยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย น้ำหนักตัวอยู่ที่ปลายเท้าทั้งสองข้าง ตรงบริเวณโคนหัวแม่เท้า ใต้ฝ่าเท้า
4 จับมือในท่าที่ถูกต้อง แขนทั้งสองเหยียดตึง ตามองที่ลูกบอล
ทักษะที่2 การส่ง ( เซ็ท )
การยกมือทั้งสองในการเซ็ต
1. ยกมือทั้งสองขึ้นประมาณหน้าผาก มือทั้งสองห่างจากใบหน้าประมาณ 1 กำมือ ( 10 เซนติเมตร)
2. กางนิ้วออก กางข้อศอกออกเล็กน้อย ข้อศอกอยู่ระดับเสมอไหล่หรือสูงกว่าเล็กน้อย กางนิ้วออกนิ้วงอเป็น
3เคลื่อนที่ไปที่ลูกบอลจะตกให้ลูกบอลอยู่เหนือศีรษะบริเวณหน้าผาก
4. ย่อเข่า ยกมือให้จุดสัมผัสบอลกับนิ้วมือห่างจากหน้าผาก 20 ซ.ม
1. การวิ่งเคลื่อนที่เข้าหาจุด
2. เตรียมกระโดดห่างจากจุดที่ลูกบอลตกประมาณ 1 ฟุต
3. กระโดดเหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหลัง น้ำหนักตัวไปข้างหลัง เข่างอ
4. เหวี่ยงแขนทั้งสองขึ้นข้างหน้า พร้อมกับถีบเท้าทั้งสองกระโดดลอยตัว ขึ้นตรง ๆ
5. แขนขวาเงื้อไปข้างหลัง งอแขนเล็กน้อย แบมือ ตามองดูบอลตลอดเวลา
6. จังหวะที่จะตบ ให้กดไหล่ซ้ายลง พร้อมกับตบลูกบอลให้แรงส่งจากข้อมือ ศอก ไหล่ และลำตัว
7. ลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้งสองในลักษณะย่อตัว
ทักษะที่4 การเสิร์ฟลูกวอลเล่ย์บอล
หลักสำคัญในการเสิร์ฟ มีดังนี้ ท่าทางในการเสิร์ฟ
1. ตำแหน่งการยืน
2. การโยนลูกบอล
3. การเหวี่ยงแขน
4. จุดที่มือกระทบลูกบอล ท่าทางในการเสิร์ฟ ก่อนที่ผู้เล่นจะเริ่มทำการเสิร์ฟต้องรู้ตัวเองว่าตนเองถนัดเสิร์ฟท่าทางแบบใดตามที่ได้ฝึกฝนมา ถ้าเคยฝึกฝน หรือถนัดเสิร์ฟลูกท่าทางแบบใดต้องเสิร์ฟลูกตามแบบนั้นตลอดการแข่งขัน เพราการเปลี่ยนท่าทางการเสิร์ฟบ่อย ๆ ย่อมทำให้ประสิทธิภาพการเสิร์ฟเสียไป
ลักษณะของการเสิร์ฟ การเสิร์ฟโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1. การเสิร์ฟลูกมือล่าง
2. การเสิร์ฟลูกมือบน
ทักษะที5.การสกัดกั้น ( ป้องกันการตบ )
1. ยืนแยกเท้าออกประมาณ 1 ช่วงไหล่
2. มือทั้งสองยกขึ้นกางฝ่ามือออก
3. งอเข่าเล็กน้อย
4. ศีรษะตั้งตรงมองไปข้างหน้า
5. กระโดดขึ้นเพื่อสกัดกั้นลูกตบของฝ่ายตรงข้าม
อุปกรณ์กีฬาวอลเลย์บอล
สนามแข่งขัน - จะต้องเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูนที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง - เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ความสูงจากพื้นประมาณ 7 เมตร มีบริเวณโดยรอบห่างจากสนามประมาณ 3 เมตร - แต่หากเป็นสนามมาตรฐานในระดับนานาชาติ กำหนดให้รอบสนามห่างจากสนามประมาณ 5 เมตร ด้านหลังห่าง 8 เมตร และมีความสูง 12.5 เมตร - เส้นรอบสนาม(Boundary lines)ทุกเส้นจะต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนตัดกับพื้นสนาม มองเห็นได้ชัดเจน - เส้นแบ่งเขตแดน(Center line)ที่อยู่ตรงกลางสนาม จะต้องอยู่ใต้ตาข่าย หรือตรงกับเสาตาข่ายพอดี ตาข่าย - จะต้องมีความสูงจากพื้น 2.43 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 – 10 เมตร - ตารางในตาข่ายกว้าง 10 เซนติเมตร ผู้ติดไว้กับเสากลางสนาม - ตาข่ายสำหรับทีมหญิงสูง 2.24 เมตร ลูกวอลเลย์บอล - เป็นทรงกลมมีเส้นรอบวงประมาณ 65-67 เซนติเมตร น้ำหนัก 260-280 กรัม - ทำจากหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้ - ซึ่งในการแข่งขันระดับโลกจะใช้ลูกบอล 3 ลูกต่อการแข่งขัน เพื่อความต่อเนื่องหากบอลออกนอกสนาม |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น